วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS04-14-07-2552

สรุป Set and String
โครงสร้างข้อมูลแบบเซต (Set) เป็นโครงสร้างที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย
ตัวดำเนินการของเซ็ต
-Set intersection การซ้ำกัน
-Set union การรวมกัน
-Set difference ความแตกต่าง
เช่น สมาชิกในห้อง 323 เป็น union กัน เพราะมีตอนเรียน A และตอนเรียน B
แต่ไม่เป็น intersection กัน เพราะคนๆหนึ่งไม่สามารถอยู่ในอีกห้องหนึ่งได้

สตริง String) หรือ สตริงของอักขระ เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมาย
สตริงในภาษา C ก็คือ อาร์เรย์ของตัวอักษร ที่มีข้อมูลชนิดตัวอักษรเรียงกันไป แต่จะต้องมีจุดสิ้นสุดด้วย โดยจะใช้ตัวอักษรวางหรือ Null Character เป็นจุดสิ้นสุดของสตริง ซึ่งจะต่างจากอาร์เรย์ปกติที่ไม่ต้องมีจุดสิ้นสุดของอาร์เรย์

การเก็บข้อมูลของสตริง การเก็บข้อมูลของสตริงนั้น จะมีการเก็บข้อมูลอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นข้อมูลตัวอักษรโดยเก็บเรียงกันไป แบะส่วนที่ 2 จะเก็บจุดสิ้นสุดของสตริง ซึ่งจุสิ้นสุดของสตริงจะใช้ Null Characterหรือ ‘\0’

ตัวอักษรที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ ข้อมูลชนิดตัวอักษรต้องการหน่วยความจำเพียง 1 ส่วน ส่วนข้อมูลชนิดสตริงตัวอักษร 1 ตัว ต้องการหน่วยความจำ 2 ส่วน ส่วนแรกใช้เก็บข้อมูล และส่วนที่สองใช้เก็บจะสิ้นสุดของสตริง
char a[ ]={‘H’, ‘E’, ‘L’, ‘L’, ‘O’, ‘\0’};
char a[ ]=“HELLO”;
จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนเป็น Character ตัวไหนเป็น String ดูได้จาก Single quote กับ double quote = “”
double quote หรือฟันหนู หรืออัญประกาศ หรือเขาคู่ หรือเครื่องหมายคำพูด
single quote หรือ apostrophe หรือฝนทอง หรือเขาเดี่ยว

(ความยาวของสตริงจพถูกกำหนดโดยขนาดของสตริง)

การกำหนดตัวแปรสตริง
ในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์ เพราะ สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0) และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะ

ฟังก์ชัน getch() ใช้รับตัวอักขระ 1 ตัวจากแป้นพิมพ์ แต่ขณะรับไม่แสดงทางจอภาพ
ฟังก์ชัน gets() เป็นฟังก์ชันใช้สำหรับรับข้อมูลชนิด Stringหรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์
รับข้อมูลที่เป็นข้อความจากเป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรแบบอาเรย์ การใช้ฟังก์ชัน gets(); จะต้องมีการประกาศตัวแปรแบบอาเรย์ และกำหนดจำนวนตัวอักษร ที่ต้องการป้อน โดยคอมพิวเตอร์จะจองพื้นที่ไว้ตามจำนวนตัวอักษร แต่จะป้อนได้น้อยกว่าที่จองไว้ 1 ตัว เพื่อให้ตัวแปรเก็บ 0 อีก 1
รูปแบบการใช้งานฟังก์ชัน
ตัวอย่าง โปรแกรม
#include”stdio.h”
main()
{
char message[50];
printf(“ Enter a message(less than 49 characters)\n”);
gets(message);
printf(“ The message you entered is %s\n”,message);
}
ผลลัพธ์
Enter a message(less than 49 characters)
Kiss and say good-by
The message you entered is Kiss and say good-bye

อะเรย์ของสตริง
ถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียน
โปรแกรมได้สะดวก การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปร
อะเรย์ของสตริงที่ยาวไม่เท่ากัน

ฟังก์ชันอื่นที่ใช้กับสตริง การใช้สตริงนั้น จะมีฟังก์ชันในการกระทำกับสตริงอีกมาก จะช่วยให้การทำงานนั้นสะดวดมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสตริงนั้นจะต้องนำเข้าไลบรารีไฟล์ strintg.h ด้วยเสมอ ซึ่งมีฟังก์ชันต่าง ๆ ดังนี้

ฟังก์ชั่นStrlen เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในการหาขนาดความยาวของข้อความนั้นว่ามีความยาวของข้อมูลกี่ตัวอักษร
รูปแบบการใช้ฟังก์ชั่นint strlen (const char *string);
ตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นการใช้ฟังก์ชัน strlenx = strlen(“Sorapong”);หรือ
char str[] = “Good Morning”;x = strlen(str);

คัดลอกสตริง ( strcpy, strncpy )ในภาษา C จะมีฟังก์ชันในการคะดลอกสตริงหนึ่งไปใส่ในอีกสตริงหนึ่ง อยู่ 2 ฟังก์ชัน คือ strcpy และ strncpy ทั้ง 2 ฟังก์ชันนี้ จะเป็นฟังก์ชันในการคัดลอกสตริง แต่ในฟังก์ชันที่ 2 สามารถกำหนดความยาวของสตริงที่ต้องการจะคัดลอกได้ strcpy ฟังก์ชัน strcpy เป็นฟังก์ชันในการคัดลอกสตริงพื้นฐาน การทำงาน คือ จะทำการคัดลอกสตริงต้นทั้งหมด ซึ่งจะรวมไปถึง Null Character ด้วย ไปใส่ในสตริงปลายทาง

โดยการประกาศฟังก์ชัน strcpy เป็นดังนี้char*strcpy (char *to_string, const char *from_string);ตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างการใช้ฟังก์ชัน strcpy strcpy(s1,s2);

เปรียบเทียบสตริง (strcmp,strncmp)ฟังก์ชันในการเปรียบเทียบสตริงในภาษา c จะมีอยู่ 2 ฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน strcmp และฟังก์ชัน strncmp ซึ่งฟังก์ชันทั้งสองจะทำการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่ฟังก์ชัน strncmp จะกำหนดความยาวในการเปรียบเทียบได้ ซึ่งผลของฟังก์ชันที่จะส่งกลับมาให้จะมีดังนี้
1. ถ้าทั้ง 2 สตริงเท่ากันจะส่งค่ากลับมาเป็น 0 โดยที่สตริงจะเท่ากัน ได้จะต้องมีความยาวที่เท่ากัน แบะมีตัวอักษรเหมือนกันทุกตัว
2. ถ้าสตริงตัวแรกน้อยกว่าสตริงตัวที่สอง จะส่งค่ากลับเป็นค่าที่น้อยกว่า 0 โดยสตริง s1 จะน้อยกว่า s2 ก็เมื่อทำการเปรียบเทียบไปที่ละตัวอักษร แล้วพบว่าตัวอักษรใน s1 มีค่าน้อยกว่าตัวอักษรของ s2 (โดยเทียบจากรหัส ACSII) หรือจุดสิ้นสุดของ s1 อยู่ก่อน s2
3. ถ้าสตริงตัวแรกมากกว่าสตริงตัวที่สอง จะส่งค่ากลับเป็นค่าที่มากกว่า 0 สตริง s1 จะน้อยกว่า s2 ก็เมื่อทำการเปรียบเทียบไปที่ละตัวอักษรแล้วพบว่าตัวอักษรใน s1 มีค่ามากกว่าตัวอักษรของ s2 (โดยเทียบจากรหัส ACSII) หรือถ้าจุดสิ้นสุดของ s1 อยู่หลัง s2 Strcmp ฟังก์ชัน strcmp
การประกาศฟังก์ชันดังนี้char *strcmp(const char *string1, const char *string2);
ตัวอย่างด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างการใช้ฟังชัน strcmpif (strcmp(str1,str2) = = 0)
*ชุดคำสั่งเมื่อเท่ากัน*/else
;">/*ชุดคำสั่ง เมื่อไม่เท่ากัน*/
Strncmp ฟังก์ชัน strncmp จะกำหนดความยาวในการเปรียบเทียบได้
การประกาศฟังก์ชันดังนี้char *strncmp (const char *string1,const char *string2,int size);

ต่อสตริง (strcat, strncat)ฟังก์ชันที่ใช้ในการต่อสตริง มีฟังก์ชัน strcat และฟังก์ชัน strncat ซึ่งการทำงานของฟังก์ชันทั้งคือ จับสตริงชุดหนึ่งไปต่อท้ายกับสตริงอีกชุดหนึ่งstrcat การประกาศฟังก์ชัน strcat เป็นดังนี้char *strcat (const char *string1,const char *string2);strncat การประกาศฟังก์ชัน strncat เป็นดังนี้
char *strncat (const sschar*string1,const char *string2,int

สรุปข้อแนะนำการใช้ฟังก์ชันรับข้อมูล (input functions)
1. เมื่อต้องการรับค่าข้อมูล string ควรใช้ฟังก์ชัน gets( ) หรือ scanf( )
2. เมื่อต้องการรับตัวเลขหรือตัวอักษรเพียง 1 ตัว ที่ไม่ต้องการเห็นบนจอภาพ และไม่ต้องกดแป้น enter ควรใช้ฟังก์ชัน getch( ) แต่ถ้าต้องการเห็นบนจอภาพด้วยควรใช้ฟังก์ชัน getche( )
3. เมื่อต้องการรับข้อมูลตัวเลขที่มากกว่า 1 ตัว เช่น ตัวเลขจำนวนเต็มหรือตัวเลขทศนิยม ควรใช้ฟังก์ชัน scanf( )
4. กรณีที่ใช้ฟังก์ชัน scanf( ) รับข้อมูลติดต่อกันมากกว่า 2 ครั้ง อาจเกิดความผิดพลาดในการรับข้อมูล ดังนั้นจึงควรใช้คำสั่ง ch = getchar( ); คั่นก่อนที่จะรับข้อมูลครั้งที่ 3 โดยจะต้องมีคำสั่งประกาศตัวแปร char ch; ไว้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น